FOOTLOOSE / ฟูตลูส (เท้ามีไฟหัวใจมีเธอ)

“ปรับเปลี่ยนใหม่ตามยุคสมัย เนื้อหายังคงเดิม และ เคารพต้นฉบับแบบสุดๆ !! แต่เคารพต้นฉบับแล้วมันไม่สนุก !!”

จากหนังเรื่อง Footloose (ตีนมีหัวใจ) หนังแจ้งเกิดดาราดังอย่าง ป๋าเควิน เบคอน ให้โด่งดัง เวลาผ่านไป 27 ปี และหนังยังคงสร้างความสนุกและเพลิดเผลินเป็นอย่างมากให้คนหลายรุ่น ในที่สุดหนังเรื่องนี้ “Footloose” ก็ถูกนำมา Remake โดยทีมงานชุดเดิมเมื่อปี 1984 Footloose ได้กลับมาอีกครั้ง ในรูปโฉมใหม่แต่ยังคงเส้นเรื่องและธีมหลักเอาไว้ โดยได้หนุ่มนักเต้นอย่าง เคนนี่ วอร์มัลด์ มารับบท เร็น แม็คคอร์แม็ค ตัวละครที่ส่งป๋า เควิน เบคอนให้เป็นดาราดัง และ ยังได้ จูลีแอนน์ ฮัฟ มารับบท แอเรียล นางเอกของเรื่อง และ Footloose ได้เคร็ก เบรเวอร์ ผู้กำกับที่เคยกำกับแต่หนังเรท R และเคยสร้างแต่ภาพยนตร์ซี่รี่ส์ มากำกับหนังที่สามารถดูได้ทุกวัยเป็นครั้งแรก และมาเขียนบทและลงมือกำกับพร้อมกันด้วย

Footloose คือเรื่องราวของเร็น แม็คคอร์แม็ค (เคนนี่ วอร์มัลด์) เด็กหนุ่มในเมืองใหญ่อย่าง “บอสตัน” ที่ต้องย้ายมาอยู่ในเมืองเล็กๆ อย่าง “โบมอนท์” หลังจากที่แม่ของเร็นจากไปอย่างไม่มีวันกลับ (ในปี 1984 แม่ของเร็นมีชีวิต) โดยเร็นได้ย้ายมาอยู่กับน้าของเขา เวส วาร์นิคเกอร์ (เรย์ แม็คคินนอน) โดยน้าเวสนั้นเปิดเต้นท์รถมือสองเป็นงานหลัก กลับมาที่บ้านน้าเวสให้ สิ่งๆ นึงที่จะกลายเป็นจุดเด่นของเรื่องนั้นก้คือ “รถเต่า” ที่พังๆ ให้แก่เร็นโดยให้เร็นนั้นเอาไปซ่อมถ้าซ่อมได้ก็เอาไปเลย (ในงานปี 1984 เร็นมีรถคันนี้ไว้ในครอบครองตั้งแต่ต้นเรื่อง) และเร็นซ่อมได้และเร็นก็ขับรถโดยต่อลำโพงขนาดยักษ์พร้อมเปิดเพลงดังๆ แล่นไปทั่วเมือง และโดนตำรวจ จับในข้อหาก็ความไม่สงบ

ที่โบสถ์ บาทหลวงชอว์กำลังเทศนาเรื่องการเปลี่ยนของโลกกันอยู่ ที่นี้เร็นได้รู้จักกับ แอเรียล ลูกสาวของบาทหลวงชอว์ โดยแอเรียลถ้าจะบอกว่าเธอนั้น แรดมากๆ ก็ไม่แปลก ทั้งใส่กางเกงฟิต และชอบเที่ยวกับผู้ชายมากๆ, ที่ร.ร.มัธยมโบมอนต์เร็นได้รู้จักกับวิลลาร์ด, เร็นได้ไปทำงานที่โรงงานฝ้าย เร็นได้รับรู้ว่าที่เมืองนี้มีกฏหมายตั้งไว้ว่าห้ามมีการเต้นรำกันและเปิดเพลงในเมือง, เร็นได้ไปเที่ยวกับเพื่อนที่สแน็คบาร์ เขาได้เต้นๆ อย่างสุดเหวี่ยงและได้เต้นกับแอเรียล แต่การเต้นนั้นไปเตะตาและทำให้แฟนของแอเรียล นั้นคือ ชัค โมโหมาก, ชัคได้ท้าเร็นแข่งรถแม็ตช์อัพ (ในปี 1984 คือแข่งชนรถไถ่นา) และแน่นอนว่าเร็นชนะ

ทำให้เร็นเกิดเป็นที่สนใจขึ้นมา ทำให้เรนถูกเพื่อนยั่วยุด้วยบุหรี่ (หรือกัญชา ไม่แน่ใจ น่าจะกัญชานะ) แต่เรนไม่สนใจ และพยายามที่จะไม่เอาแต่ก็ด้วยความบังเอิญ ทำให้ครูเห็นเข้า ทำให้เร็นถูกคนที่บ้าน ต่อว่า ทำให้เรนประสาท เสียขึ้นมา, เรนเลยต้องออกไป แดนซ์ คนเดียวในโรงนาและ แอเรียลได้มาที่โรงนาพอดิบพอดี ทำให้ทั้งคู่ ปื๊งกันขึ้นมา (จากการช่วยชีวิตแอเรียลของเร็น), แอเรียลได้กลับมาที่บ้านและได้เจอกับพ่อ ทำให้เกิดปัญหาดราม่าที่จะตามมาในอนาคต, เรนได้ชวนแอเรียล ไปเต้นกันที่คลับในเขตแบ่งรัฐ

เร็น ได้พยายามที่จะช่วยรณรงค์และแหกกฏให้เมืองมีกฏหมายออกมาให้สามารถเต้นในการจบรุ่นการศึกษา (งานพรอม) ได้ ซึ่งวัยรุ่นในเมืองก็สนใจ แต่ปัญหาใหญ่ก็คือ การต้องไปขอการอนุมัติจากสภาเมือง ซึ่งพ่อของแอเรียลเป็น 1 ในคณะกรรมการ, แต่พวกเรนก็สามารถจัดงานเต้นขึ้นมาได้และก็จะเข้าสู่งานฉลองการจบไฮสคูลที่สนุกสุดเพลินๆ ที่สุดในประวัติศาสตร์ของเมืองโบมอนต์

หนังไม่ได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาอะไรในหนังมากนัก นอกจากการเปลี่ยน (หรือตัดทิ้ง) ตัวละครแม่ของเร็นทิ้งไป เพื่อไปขยายในส่วนปัญหาในเรื่องปมในใจของเร็นแทน ซึ่งถ้าในงานต้นฉบับตัวละครแม่ของเร็นนั้นก็เกือบจะไม่สำคัญ และแถมยังน่ารำคาญในบางครั้งด้วย เพราะงั้นในหนังภาคนี้ ก็เลยตัดตัวละครแม่ของเร็นไป ซึ่งเมื่อตัดตัวแม่ของเร็นไปแล้ว โดยบอกไว้หนังหนัง ว่า ป่วยเป็นลูคีเมีย เสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งก็ไปขยายในส่วนปมของชีวิต ความลำบากในชีวิตของเร็น ซึ่งดูจากที่หนังเล่ามาชีวิตของเร็นก็ดูไม่ลำบากเท่าไรนะ ซึ่งเอาจริงๆ ไม่ว่าจะในงานปี 1984 หรือ 2011 ไม่จำเป็นต้องมีตัวละครแม่ของเร็นก็ได้ เพราะไม่มีความสำคัญเลยซักนิด งานปี 2011 ใส่มาก็ไม่ได้บิวต์อารมณ์เลยแม้แต่นิดเดียว แต่การตัดแม่ของเร็นทิ้งไป

ก็ทำให้ตัวละครน้าของเร็นได้เป็นส่วนช่วยเติมเต็มในประเด็นครอบครัวของหนังมากขึ้น ซึ่งในส่วนนี้หนังถือว่าสอบผ่านในการทำให้บทของน้าเวส โดดเด่นขึ้น และสำคัญกว่าแม่ของเร็นครับ ซึ่งในส่วนของน้าเวส (หรือภรรยาน้าเวส) ถึงจะปรากฏอยู่ไม่มากแต่เมื่อปรากฏตัวก็มีแรงผลักดันต่อเร็นอย่างสำคัญและน้าเวสนั้นเองที่เป็นคนที่ช่วยผลักดันตัวของเร็นในการแก้ไขปัญหากฏหมาย ควบคู่ไปกับตัวของแอเรียลด้วย ซึ่งช่วยให้หนังดูดีขึ้นมานิดหน่อย แม้จะไม่เยอะอะไรมากนัก เพราะดูเวินเว้อรวบรัดเกินไปหน่อย ส่วนอารมณ์กุ๊กกิ๊ก ของ เร็น กับ แอเรี่ยล ภาคนี้คือเหมือนกับภาคปี 1984 แทบทุกระเบียบนิ้ว คือในส่วนนี้หนังไม่ได้เปลี่ยนไปจากงานต้นฉบับ ซึ่งในส่วนนี้คือส่วนที่ดีของหนังภาคนี้ที่ยังคงอารมณ์นั้นไว้ โดยไม่เปลี่ยนเนื้อหาไปไปนั้นเอง

ซึ่งในหนังปี 2011 มีส่วนที่ขยายและเพิ่มเติมจากปี 1984 อยู่ก็คือการเล่าถึงเหตุการณ์ที่เป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ทั้งหมดว่าเป็นมายังไง พวกเขาฉลองอะไรกัน ทำไมพวกเขารถชน ซึ่งผมคิดว่าการใส่ฉากนี้เข้ามาเป็นสิ่งที่ทำได้ดีกว่างานต้นฉบับมากเลยครับ เพราะในหนังปี 1984 หนังไม่ได้บอกเล่าอะไรมาก บอกแค่ว่าพวกเขาเสียชีวิตและหนึ่งในนั้นเป็นพี่ของแอเรียล ซึ่งในงานปี 2011 ก็ยังได้รู้ชื่อเขาด้วยว่าเขาชื่อ “บ๊อบบี้” ซึ่งเป็นเหตุการณ์ไม่กี่อย่างที่ทำได้ดีกว่างานต้นฉบับในปี 1984

ซึ่งในงาน 1984 กับ 2011 มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือการหาทางออกที่ง่ายแสนง่ายให้กับตัวละครเพื่อไปสู่บทสรุปที่เหมือนกันนั้นคืองานพรอม แต่สำหรับงานในปี 84 หนังหาทางออกง่ายๆ ให้กับตัวละคร แต่สำหรับคนดูนั้น การหาทางออกง่ายๆ นั้นออกมาดูดี และไม่น่าเกลียด แต่สำหรับในงานปี 2011 การหาทางออกง่ายๆ นั้นกลับกลายเป็นว่า ดูน่าเกลียด และหาทางออกง่ายๆ เกินไป ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นน่าจะขึ้นอยู่กับยุคสมัยมากกว่า ที่หนังหาทางออกเหมือนกัน แต่กลับได้ผลกันไปคนละทาง (ซะงั้น)

จริงๆ แล้วหนังตัวต้นฉบับของ Footloose ก็สามารถบอกเล่าความเป็นตัวตนของยุคนั้นได้เป็นอย่างดี ทั้งหลักการใช้ชีวิต วัฒนธรรมการใช้ชีวิตของคนยุคนั้น ความเป็นอยู่ รวมไปถึงการเต้นและเพลงในยุค 80 แต่ที่สำคัญมากที่สุดคงเป็นความสนุกของหนังที่ทำออกมาได้ดีและดูสนุกมากกว่าที่ทำให้หนังโดดเด่นขึ้นมา ซึ่งพอมาในปี 2011 Footloose ก็ต้องเจอกับงานชิ้นโตที่จะต้องนำสิ่งต่างๆ ในยุคนั้นมานำเสนอให้คนยุคนี้ที่จะต้องทำให้ดูสนุก และต้องสร้างความเพลิดเพลิน โดยไม่ไปทำลายงานยุคนั้น และต้องคงเส้นเรื่องหลักและธีมหลักไว้ ซึ่ง Footloose ก็ปรับเปลี่ยน อะไรนิดหน่อยเพื่อให้เข้ากับยุคนี้ แต่เอกลักษณ์ต่างๆ ในหนังต้นฉบับ หนังก็ยังคงไว้อยู่เหมือนกัน อาทิ รถเต่าโวลฟ์วาเก่นที่เป็นจุดเด่นมากๆ ในหนังฉบับเก่า หรือเพลงประกอบที่ยังคงไว้อยู่ แค่ปรับเปลี่ยนไปในส่วนของจังหวะ ทำนอง แต่เนื้อร้องยังเหมือนเดิม อาทิเพลง Let’s Hear It For the Boys ที่ยังคงอยู่และเพลงสำคัญอย่างที่สุดนั้นคือ เพลง Footloose ที่คราวนี้มาในแบบร๊อค-คันทรี่แบบมันส์ ที่ฟังสนุกๆ ของ เบล็ค เชลตัน

แถมในหนังปี 2011 ยังเอาเพลงประกอบหลักและเป็นเพลงธีมของเรื่องอย่าง Footloose ที่ร้องโดย เคนนี่ ล็อกกินส์ มาใช้ประกอบในฉากต้นเรื่องเลย เหมือนยังให้ความเคารพในส่วนของเพลงต้นฉบับไว้ และในฉากเปิดเรื่องก็ยังสร้างดูเหมือนงานในปี 1984 นั้นคือการให้ดูเท้าเต้น ซึ่งแน่นอนครับว่า “เพลิน” อย่างบอกไม่ถูกเลยทีเดียว แถมหนังยังเอาฉากประกอบในตำนาน อย่างตอนที่เร็นเต้นในโรงรถก็เหมือนอย่างกับถ่ายเอกสารกันมาเลยทีเดียวครับ แถมในฉากท้ายในฉากงานพรอม หนังยังสร้าง ภาพทับซ้อนระหว่าง เควิน เบคอน กับ เคนนี่ วอร์มัลด์ ในชุดสูทสีแดงกางเกงดำของ เร็น แม็คคอร์แม็ค ได้อย่างเหลือเชื่อ!!

แต่ที่เพิ่มเติมเสริมเข้ามาคือ การที่หนังมีไอพ็อด เอิม… อันนี้ไม่เกี่ยว แต่เห็นจะเป็นฉากในบาร์ที่เปลี่ยนฉากการเต้นเป็นการเต้นพร้อมกันที่ขอบอกว่ามันเป็นการเต้นที่ดูขัดๆ กันแต่ว่าคิดไปคิดมาก็ดูดีได้เหมือนกันนะครับ หรือฉากการแข่งกันระหว่างเร็นกับชัคที่เปลี่ยนจากการขับรถไถ่นามาเป็นรถแข่งแม็ตช์อัพ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัน ถ้าลองคิดเล่นๆ ปี 2011 ถ้าเอารถไถ่นามาขับชนกันมันคงจะไม่สนุก และคงไม่เข้ากับยุคสมัยเป็นอย่างมาก หนังก็เลยเปลี่ยนมาเป็นอย่างรถแม็ตช์อัพ ซึ่งก็ดูเข้ากับยุคสมัยดีเหมือนกันครับ แต่กับการเปลี่ยนอะไรๆ หลายอย่างก็ทำให้หนังไม่อาจจะเทียบเขียงกับงานปี 1984 ได้ และทำให้หนังขาดเสน่ห์ที่น่าจดจำไปครับ ที่พอจะเทียบกับงานปี 1984 ได้ก็คือการที่เนื้อเรื่องยังคงเคารพต้นฉบับอยู่นั้นเอง ที่ยังดีกว่า Fright Night ในปี 2011 ที่ยังคงธีมหลักไว้ แต่เปลี่ยนเนื้อหาที่เปลี่ยนไปซะแบบเอาใจวัยรุ่น แต่ถือว่าทำออกมาดูได้และดูสนุกมากพอสมควร ไม่เหมือนกับ Footloose ที่ทำออกมาเพื่อเรียกแฟนรุ่นเก่าๆ มากกว่า ที่วัยรุ่นรุ่นนี้คงดูสนุกบ้างไม่สนุกบ้างหรือหนักว่านั้นก็คงดูไม่สนุกเลย…

ด้านนักแสดง ดาราหนุ่มที่มารับบทแทน เควิน เบคอน ในบทของ เร็น แม็คคอร์แม็ค ก็คือ เคนนี่ วอร์มัลด์ ซึ่ง วอร์มัลด์ก็แสดงในฉากที่เป็นฉากเต้นได้ดี แต่ยังมิอาจเทียบกับเควิน เบคอน ได้เพราะวอร์มัลด์ยังขาดรัศมีดาราแบบเควิน เบคอนที่สร้างไว้ในงานปี 1984 ที่เบคอนนั้นทำไว้สูงมาก เพราะในฉากแสดงที่ต้องเล่นกับนักแสดงคนอื่นวอร์มัลด์ยังดูไม่มีรัศมีเพียงพอถ้าหากไม่นับฉากที่เป็นงานถนัดของวอร์มัลด์ก็คือฉากเต้น นอกนั้นยังไม่สามารถโชว์พลังได้ ที่ดูโดดเด่นและน่าจดจำที่สุดในหนังของวอร์มัลด์ก็คือฉากที่ใส่สูทสีแดง ที่ดูใช่เลยว่าเป็นเควิน เบคอน แต่ก็แค่ฉากเดียวเท่านั้น แต่เอาน่ายังมีโอกาศเยอะพ่อหนุ่ม นี่เพิ่งหนังเรื่องแรกที่ได้รับบทนำเต็มตัว รอดูอนาคตกันต่อไป

จูลีแอนน์ ฮัฟ นักแสดงสาวผู้มารับบทแอเรียลลูกสาวบาทหลวงชอว์ที่พกความสวยเซ๊กซี่มาด้วย เธอไม่สามารถเทียบกับ ลอรี่ ซิงเกอร์ ที่รับบทแอเรียลไว้เมื่อปี 1984 ได้ แต่ยังดีหน่อยที่เธอดูมีรัศมีดารามากที่สุดใน 4 ดารานำวัยรุ่นของเรื่อง โดยเฉพาะเมื่อต้องเข้าคู่กับ วอร์มัลด์ เธอดูดีกว่ามีรัศมีมากกว่าวอร์มัลด์อยู่เยอะมาก และตอนเข้าฉากกับดาราคนอื่นก็เธอก็ทำได้ดีพอสมควร ซึ่งเธอเขาฉากเต็นเธอก็เต้นออกมาได้ดี (เธอเคยประกวดรายการเต้นชื่อดัง Dancing With the Star ถึง 5 ซีซั่น และชนะเลิศในรายการนี้เมื่อปี 2007 ทั้ง 2 ซี่ซั่น) ซึ่ง Footloose เป็นหนังเรื่องที่ 3 ในเครดิตเธอ และแน่นอนว่าเรื่องนี้เธอรับบทเป็นตัวนำเต็มๆ เรื่องแรก

ส่วนดารานำอีก 2 คนที่เหลืออย่าง ไมลส์ เทลเลอร์ ที่รับบทเป็น วิลลาร์ด และ ซีอาห์ โคลอน ที่รับบท รัสตี้ (เพื่อนซี้ของเร็นกับแอเรียลตามลำดับ) จะบอกได้ว่าถึงจะมีชื่อเป็นดารานำแต่ก็ไม่ได้โชว์ตัวอะไรมากๆ มีเข้าจอมากหน่อยก็แค่วิลลาร์ดที่เข้าฉากมากกว่า (ซึ่งส่วนมากเป็นฉากเต้น) ส่วนตัวรัสตี้นั้นเข้าฉากน้อย แต่ก็ไม่ได้โดดเด่นและน่าจดจำเหมือนเมื่อปี 1984 ที่รับบทโดย ซาราห์ เจสซิก้า ปาร์คเกอร์ เลยแม้แต่น้อย สรุปเลยว่า เป็นดารานำแต่ดันเหมือนตัวประกอบ น่าเศร้า T T, แต่เมื่อทั้ง 4 นั้นต้องเข้าฉากด้วยกันกลับกลายว่าอะไรที่ดูแย่ๆ นั้นกลับดูดีและกลมกลื่นกันครับ เมื่อทั้ง 4 คนต้องเข้าฉากด้วยกัน ดูไหลลื่นดี กลับเข้ากันได้อย่างแปลกๆ ?, ส่วนตัวละครนำที่สำคัญมากๆ อีกตัวนั้นคือ บาทหลวงชอว์ ได้นักแสดงรุ่นใหญ่มากฝีมืออย่าง เดนนิส เควด มารับบท เควด ก็ยังคงโชว์ฝีมือในการแสดงอยู่ถึงแม้วว่าจะมีฉากโผล่อยู่ไม่มากนักก็ตาม

ซึ่งงานในภาคปี 2011 นั้นถ้าหากหวังว่าจะได้เห็น เควิน เบคอน มาแจมในหนังละก็ ไม่ต้องหาให้เสียเวลาหรอกครับ เควิน เบคอน ไม่มาแจมเพราะนักแสดงนำ ไม่เตะตาและไม่โดนใจ เลยไม่กลับมาให้เสียเวลา แฟนๆ ปี 84 เศร้าเลย

การกำกับของ เคร็ก เบรเวอร์ นั้นถือว่ากำกับโดยเหมือนกับงานปี 84 มากเลยนะครับ ซึ่งดูได้ในหลายๆ ฉากที่เหมือนก๊อปงานปี 84 มา แต่จริงๆ ไม่ได้ก๊อปแค่ถ่ายทำออกมาให้ใกล้เคียง ซึ่งตรงนี่ถือว่าทำออกมาได้ดีมาก รวมไปถึงการใช้โลเคชั่นที่เลือกออกมาได้ดุเข้ากับยุคสมัยเป็นอย่างมาก หรือการถ่ายทำในฉากเต้นก็ทำออกมาได้ดีพอสมควร ถือว่าการทำหนังครอบครัวดูได้ทุกวัยครั้งแรกของ เคร็ก เบรเวอร์ “สอบผ่าน”

อย่างที่บอกไปครับว่างานปี 2011 ดูสนุกบ้างไม่สนุกบ้างหรือหนักว่านั้นก็คงดูไม่สนุกเลย ทำให้รายรับของหนังเก็บไปได้แค่ 62 ล้านเท่านั้น แต่ก็ถือว่าหนังกำไรละครับ เพราะหนังใช้ทุนสร้างแค่ 24 ล้านเท่านั้น

THERE COMES A TIME TO CUT LOOSE

ทำออกมาได้ดีอยู่เมื่อเทียบกับงานปี 1984 แต่สำหรับงานในปี 2011 นั้นหนังอาจจะไม่ได้ดูสนุกอะไรมากนักแต่สำหรับแฟนๆ หนังเรื่องอาจจะไม่ชอบและชอบปะปนกันไป รวมไปถึงที่เคยดูเรื่องนี้ครั้งแรกก็คงชอบและไม่ชอบเหมือนกัน ดังนั้น Footloose ปี 2011 เป็นการสร้างใหม่ที่ดีแต่ไม่มีอะไรให้จดจำเท่าไร แต่ถ้าอยากดูฉากเต้นดี เพลงดีๆ Footloose ทั้ง 2 เวอร์ชั่นเป็นงานที่ตอบโจทย์ได้ดีครับ

ความยาวทั้งหมด 113 นาที
สำหรับคนเคยดูงานปี 1984 มาแล้วเอาไป 7/10

กำกับ: เคร็ก เบรเวอร์ / เขียนบท: ดีน พีทช์ฟอร์ด, เคร็ก เบรเวอร์ / นักแสดง: เคนนี่ วอร์มัลด์, จูลีแอนน์ ฮัฟ, ไมลส์ เทลเลอร์, ซีอาห์ โคลอน, เดนนิส เควด/ กำกับภาพ: เอมี่ วินเซนท์ / ลำดับภาพ: บิลลี่ ฟ็อกซ์ / ดนตรีประกอบ: เดโบร่า รูลี่ / 2011 / สหรัฐอเมริกา / 113 นาที / จัดจำหน่าย: พาราเมาท์ พีคเจอร์ / สตูดิโอผู้สร้าง: สปายกลาส เอนเตอร์เทนเมนท์, เอ็มทีวี ฟิลม์